คือ ความเป็นอิสระในการพูดโดยปราศจากการตรวจสอบและการจำกัดความเป็นไปได้ที่จะทำการใดๆ ตามที่ตนเองต้องการ จัดเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษยชนที่พึงมี
ในหลายประเทศได้มีการกำหนดกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นประชาชนจึงสามารถแสดงออกทางความคิดในลักษณะต่างๆได้อย่างอิสระ
กฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่3 "สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน" มีดังนี้




1.คำลามกอนาจาร
2.คำใส่ร้ายป้ายสี
3.คำยั่วยุให้เกิดความกลัว
4.คำยั่วยุให้มีการก่ออาชญากรรม
5.คำดูถูกเหยียดหยาม
6.คำปลุกปั่นก่อให้เกิดความไม่สงบ
การแสดงความคิดเห็นโดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวซึ่งเป็นสิทธิเสรัภาพประการหนึ่งที่พึงมี การปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้ ทำให้เกิดการใช้สิทธิและเสรีภาพในด้านนี้เกินขอบเขต ขาดจริยธรรม หรือขาดความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายในการกระทำผิดกฎหมายในรุปแบบต่างๆอีกด้วย
เป็นโปรแกรมที่จะทำการปลดที่อยู่อีเมล์จริงของผู้ส่งออก แล้วแทนที่ด้วยที่อยู่นิรนาม ที่อยุ่ปลอม หรือไม่มีที่อยู่ผู้ส่งไปยังผู้รับ การใช้ระบบส่งอีเมล์นิรนามในทางที่ผิด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนได้
เป็นการใส่ความผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศ และได้รับความเดือดร้อนโดยไม่มีหลักฐานยืนยัน การเเสดงความคิดเห็นใดๆ ก็พึงระวังให้การแสดงความเห็นไปโดยขอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน
อาจทำให้ได้รับความเดือดร้อนโดยไม่รู้ตัว อาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ทันตั้งตัวเนื่องจากโพสต์แสดงความคิดเห็นในลักษณะนี้ เช่น
- นาง ข ด่าผู้อื่นว่ารับสินบน รับส่วยใต้โต๊ะ ประพฤติตนไม่สุจริต เป็นต้น
กฎหมายได้กำหนดให้การโพสต์ข้อความอันเข้าข่ายหมื่นประมาทนั้น อาจเสี่ยงที่จะเป็นความผิดกฎหมายทั้งทางเเพ่งและทางอาญาใน 3 มาตราดังนี้
1) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมื่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2) ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 328
ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองเเสนบาท
3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423
"ผู้ใดกล่าวหรือให้ข่าวเเพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง หรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือ ทางเจริญของเขา โดยประการอื่น ก็ดี ท่านผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหาย อย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นแม้ทั้งเมื่อตนมิได้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใด ส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่า เป็นความไม่จริง หากว่า ตนเองหรือ ผู้รับข่าวสารนั้น มีทางได้เสีย โดยชอบ ในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้น หาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่"
สรุปได้ว่าการโพสต์ข้อความละเมิดผู้อื่นบนเว็บไชต์สามารถเข้าข่ายมีความผิด ฐานหมิ่นประมาทได้ ผู้โพสต์จึงอาจเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทางสาล และถูกตัดสินให้ต้องรับผิดตามการพิจารณาของศาลได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น