ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ "ผลงานอันเกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์"
ทรัพย์สินทางปัญญา เเบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property)
2. ลิขสิทธิ์ (Copyrig)
เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งประเภทออกได้ดังนี้
1.1 สิทธิบัตร (Patent)
1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
1.3 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
1.4 ชื่อทางการค้า (Trade Name)
1.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication)
1.1 สิทธิบัตร (Patent)
1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
1.3 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
1.4 ชื่อทางการค้า (Trade Name)
1.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication)
คือ หนังสือที่สำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility) บัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตร มีสิทธิ์เด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์สิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วง
ระยะเวลาที่จํากัดช่วงหนึ่งเท่านั้น อาจแยกคํานิยามของ “สิทธิบัตร” ได้เป็น 2 ความหมาย ดังนี้


การประดิษฐ์ (Invention)
คือ การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิมการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้
-ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม
-สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับจากวันยื่นคำขอสิทธิบัตร
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์(Utility Model)
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือเรียกอีกอย่างว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้
-เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือ ยังไม่เคยมีจำหน่ายหรือขายมาก่อน หรือยังไม่เคยเปิดเผยรายละเอียด
-อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 6 ปี นับจากวันยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตร สามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี รวมเป็น 10 ปี
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการอาจเป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ



ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล และเป็นข้อมูลที่เจ้าของหรือผู้มีหน้าที่ควบคุมความลับทางการค้าไดใช้ มาตรการที่เหมาะสม รักษาไว้เป็นความลับ
“ ข้อมูลทางธุรกิจที่ยังไม่เปิดเผย ”
ในกรณีที่ธุรกิจอาจมีความลับทางส่วนผสมทางการผลิต ก็อาจจดทะเบียนทางลับทางการค้า โดยที่ธุรกิจจะไม่ยอมเปิดเผยสูตรให้ผู้ใด ซึ่งผู้อื่นที่มิใช่เจ้าของความลับจะทราบคร่าวๆ เท่านั้นว่าส่วนผสมหลักคือ อะไรแต่ไม่ทราบรายละเอียดจริง
ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ โกดัก ฟูจิ เป็นต้น
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทน แทนแหล่งภูมิศาสตร์ สามรถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น
ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น “ทรัพย์ทางปัญญา” ประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งสามารถซื้อขาย หรือโอนสิทธิกันได้ทั้งทางมรดก หรือ โดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจน จะโอนสิทธิทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
- งานวรรณกรรม
- งานนาฏกรรม
- งานศิลปกรรม
- งานดนตรีกรรม
- งานโสตทัศนวัสดุ
- งานภาพยนตร์
- งานสิ่งบันทึกเสียง
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
- งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันลิขสิทธิ์
- ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร
- รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
- ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่น
- คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
- คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
- สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์
- เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของตน
อายุคุ้มครองลิขสิทธิ์
- งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นมา
- งานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานแพร่เสียง แพร่ภาพ ลิขสิทธิ์มีอยู่ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
- กรณีได้มีการโฆษณางานเหล่านั้น ในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวให้ลิขสิทธิ์มีอยู่ต่อไปอีก 50ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก ยกเว้นในกรณีศิลปประยุกต์ ให้มีลิขสิทธิ์อยู่ต่อไปอีก 25 ปี นับแต่โฆษณาครั้งแรก
- ผลภายหลังลิขสิทธิ์หมดอายุ งานนั้นตกเป็นสมบัติของสาธารณะ บุคคลใดๆ สามารถใช้งานนั้นๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
รูปแบบการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
จัดทำโดย
น.ส. ชนัดดา อินทรสาร
5512317004
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น